วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

   



                                  



ธงชาติมาเลเซียหรือเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "Jalur Gemilang" (แปลว่า ธงริ้วแห่งความรุ่งเรือง) มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน พื้นสีแดงสลับสีขาวรวม 14 แถบ แต่ละแถบมีความกว้างเท่ากัน ที่มุมธงด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินกว้าง 8 ใน 14 ส่วนของผืนธงด้านกว้าง และยาวกึ่งหนึ่งของผืนธงด้านยาว ภายในบรรจุเครื่องหมายพระจันทร์เสี้ยวและดาว 14 แฉก ที่มีชื่อว่า "Bintang Persekutuan" หรือ "ดาราแห่งสหพันธ์"
แถบริ้วสีแดงและสีขาวทั้ง 14 แถบ หมายถึงรัฐในสหพันธ์รัฐมาเลเซียทั้ง 13 รัฐ และรัฐบาลกลางที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ รัศมีดาวทั้ง 14 แฉกหมายถึงความเป็นเอกภาพในหมู่รัฐดังกล่าวทั้งหมด พระจันทร์เสี้ยวหมายถึงศาสนาอิสลามอันเป็นศาสนาประจำชาติ สีเหลืองในพระจันทร์เสี้ยวและดาราแห่งสหพันธ์คือสีแห่งยังดี เปอร์ตวน อากง ผู้เป็นประมุขแห่งสหพันธรัฐ ส่วนสีน้ำเงินนั้นหมายถึงความสามัคคีของชาวมาเลเซีย ซึ่งแต่เดิมสีนี้ใช้แทนความเชื่อมโยงระหว่างสหพันธรัฐมาเลเซียกับเครือจักรภพอังกฤษ แต่คำนิยามดังกล่าวนี้ได้ถูกลดความสำคัญลง และได้มีการนิยามความหมายของสีนี้ใหม่ดังปรากฏอยู่ในปัจจุบันโดยรวมแล้วแม้ธงนี้จะคล้ายกันกับธงชาติสหรัฐอเมริกาและธงประจำบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษก็ตาม แต่ธงนี้ก็ไม่มีความเชื่องโยงกับทั้งสองธงข้างต้นแต่อย่างใด 




                                                                                                                                
ตราแผ่นดิน National Emblem of Malaysia
ตราแผ่นดินของมาเลเซีย (ภาษาอังกฤษ: National Emblem of Malaysia,the Coat of Arms of Malaysia; ภาษามาเลย์: Jata Negara in Malay) ประกอบด้วยส่วนหลักๆห้าส่วนคือ โล่ เสือสองตัว พระจันทร์เสี้ยวสีเหลือง และดาวสีเหลือง 14แฉก และแถบผ้า ตราแผ่นดินของมาเลเซียนี้สืบทอดมาจากตราแผ่นดินสหพันธรัฐมาเลย์ระหว่างที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษตราในปัจจุบันจึงมีอิทธิพลของตราแบบตะวันตกอยู่มาก 
 

               Map of Malaysia 
                                                                     แผนที่ประเทศมาเลเซีย







ประเทศมาเลเซีย Malaysia

ภาษา: Language
ภาษามาเลย์ หรือ ภาษามลายู ซึ่งเรียกในภาษาท้องถิ่นว่า Bahasa Melayu เป็นภาษากลุ่มออสโตรนีเชียน ที่พูดโดยชนชาติมลายูซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของคาบสมุทรมลายู ทางใต้ของประเทศไทย ประเทศสิงคโปร์ และบางส่วนของเกาะสุมาตรา เป็นภาษาทางการของประเทศมาเลเซียและประเทศบรูไน และเป็น 1 ใน 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่แพร่หลายในประเทศติมอร์ตะวันออก
ในการใช้ภาษาโดยทั่วไป ถือว่าเหมือนกัน หรือสื่อสารเข้าใจกันได้กับภาษาอินโดนีเซีย (บาฮาซาอินโดนีเซีย) อันเป็นภาษาทางการของประเทศอินโดนีเซีย แต่ใช้ชื่อแยกต่างกันด้วยเหตุผลทางการเมือง อย่างไรก็ตาม เมื่ออยู่ในพื้นที่ต่างกัน การใช้ภาษา รสนิยมทางภาษา จึง      แตกต่างกันไปแต่ไม่มากนัก
มาตรฐานอย่างเป็นทางการของภาษามลายูนั้น มีการตกลงร่วมกันระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน ว่าใช้บาฮาซารีเยา (
Bahasa Riau) เป็นมาตรฐาน อันเป็นภาษาของหมู่เกาะรีเยา ซึ่งถือว่าเป็นต้นกำเนิดของภาษามลายูมาช้านาน
ศาสานาและวัฒนธรรม
 มีสภาพคล้ายคลึงกับประเทศอินโดนีเชีย ชึ่งเป็นหมู่เกาะอิทธิพลของศาสนาอิสลามได้แพร่เข้ามาในแหลมมลายู ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม 55% นับถือศาสนาพุทธ 25% นับถือศาสนาคริสต์ 13% นับถือศาสนาฮินดู  7% และลัทธิศาสนาพื้นเมือง 4% แต่การหันไปนับถือศาสนาอื่นที่ไม่ใช่อิสลามเป็นปัญหาอย่างมากเนื่องจากทาง ภาครัฐจะไม่เปลี่ยนข้อมูลทางราชการให้ มาเลเซียบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ และผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะมีสิทธิพิเศษ คือ ได้รับเงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณะสุข การคลอดบุตร งานแต่งงานและงานศพตามนโยบาย "ภูมิบุตร"
                              
เมืองหลวง

กัวลาลัมเปอร์ (ออกเสียงตามภาษามลายูว่า กัวลาลุมปูร์ เป็นเมืองหลวงของประเทศมาเลเซียและเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศด้วย ภายในมาเลเซียเอง กัวลาลัมเปอร์มักจะเรียกย่อ ๆ ว่า KL
กัวลาลัมเปอร์เป็นหนึ่งในสามเขตสหพันธ์ของมาเลเซีย (
Malaysian Federal Territories) ล้อมรอบด้วยรัฐสลังงอ (Selangor state) บนชายฝั่งตะวันตกตอนกลางของคาบสมุทรมาเลเซีย (Peninsular
Malaysia)
ฝ่ายบริหารของรัฐบาลมาเลเซียได้ย้ายไปที่เมืองใหม่คือ ปุตราจายา อย่างไรก็ดี พระราชฐานของกษัตริย์ของมาเลเซีย รัฐสภามาเลเซีย และฝ่ายนิติบัญญัติยังคงอยู่ที่กัวลาลัมเปอร์

เพลงชาติ : The national anthem of Malaysia
สกุลเงิน
เนอการากู-เพลงชาติมาเลเซีย
     จากการที่เป็นประเทศประชาธิปไตยเหมือนกัน มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเหมือนกัน จึงเป็นประเทศที่มีความใกล้ชิดกันทางการเมืองกับไทยยิ่งกว่าประเทศเพื่อน บ้านอื่นๆ ที่เป็นสังคมนิยมด้วยซ้ำ ส่วนเรื่องการค้าหรือวัฒนธรรมก็อีกเรื่องนะครับ ความเป็นมาของเพลงชาติมาเลเซียคงต้องอ้างอิงถึงบทนำในวิกิพีเดียภาษาไทยที่ มีความกระชับดีอยู่แล้วดังนี้ค่ะ
เพลง ชาติมาเลเซีย มีชื่อว่า "เนอการากู" (
Negaraku แปลว่า "ประเทศของฉัน")เพลงนี้ได้รับเลือกให้เป็นเพลงชาติมาเลเชียในสมัยสหพันธรัฐมลายาเมื่อปี พ.ศ. 2500 ทำนองเพลงนี้เดิมใช้เป็นเพลงคำนับประจำรัฐเประ และเคยใช้เป็นทำนองเพลงยอดนิยมในมาเลเซียสมัยหนึ่งที่ชื่อว่า เตอรัง บูลัน (Terang Bulan) ซึ่งหยิบยืมทำนองมาจากเพลงฮาวายชื่อ เพลงมามูลา มูน (Mamula Moon) อีกชั้นหนึ่ง
เพลงเนอการากูมีการบรรเลงอยู่ 2 แบบ คือ การบรรเลงแบบสังเขป ซึ่งใช้ในโอกาสต่างๆ โดยทั่วไป และการบรรเลงแบบเต็มฉบับ ใช้ในยามที่ยังดี เปอร์ตวน อากง (พระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย) เสด็จออกในงานทางราชการ
)

                             สกุลเงิน


ริงกิตมาเลเซีย หรือที่ชาวบ้านมักเรียกว่า ดอลลาร์มาเลเซีย เป็นเงินตราประจำชาติของประเทศมาเลเซีย ซึ่งแบ่งเป็น 100 เซ็น (รหัสเงินตรา MYR). ดอลลาร์สิงคโปร์และดอลลาร์บรูไนก็เรียกว่า ริงกิต ในภาษามาเลย์ คำว่า ringgit ในภาษามาเลย์แปลว่า "เป็นหยัก ๆ" และใช้อ้างถึงขอบหยัก ๆ ของ เหรียญเงินของประเทศสเปนที่ใช้แพร่หลายในพื้นที่
ในปี พ.ศ. 2380 รูปีได้กลายเป็นเงินตราราชการชนิดเดียวในอาณานิคมช่องแคบ (
Straits Settlements) แต่ในปี พ.ศ. 2410 เหรียญเงินได้เป็นเงินตราที่ถูกต้องตามกฎหมายอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2446 ได้มีการนำดอลลาร์ช่องแคบ (Straits dollar) ออกมาใช้โดย Board of Commissioners of Currency โดยที่ตั้งราคาไว้ที่ 2 ชิลลิง และ 4 เพนซ์ และได้มีการห้ามไม่ให้ธนาคารเอกชนออกธนบัตรเอง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ได้เกิดความไม่ต่อเนื่องของเงินตรา 2 ครั้ง คือ การยึดครองของประเทศญี่ปุ่น (พ.ศ. 2485-2487) และการลดค่าเงินของปอนด์สเตอร์ลิงในปี พ.ศ. 2510 เป็นเหตุให้ธนบัตรของ Board of Commissioners of Currency of Malaya and British Borneo ลดค่าไป 15% ในขณะที่ดอลลาร์ของ Bank Negara Malaysia และ Commissioners of Currency ของสิงคโปร์และบรูไนไม่มีการลดค่า
ชื่อภาษามาเลย์ คือ ริงกิต และ เซ็น ได้กลายเป็นชื่ออย่างเป็นทางการในสิงหาคม พ.ศ. 2518 ก่อนหน้านี้ เงินตราได้เรียกเป็น ดอลลาร์ และ เซนต์ ในภาษาอังกฤษ และ ริงกิต และ เซ็น ในภาษามาเลย์ อย่างไรก็ดี การใช้สัญลักษณ์ดอลลาร์ "
$" (หรือ "M$") ไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงเป็น "RM" (Ringgit Malaysia) จนถึงช่วง พ.ศ. 2533
ตั้งแต่วิกฤตทางการเงินในเอเซียเมื่อปี พ.ศ. 2540 ได้มีการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนของริงกิตกับดอลลาร์สหรัฐไว้ที่
RM3.80 ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ

อาหารประจำชาติ



อาหารมาเลเซีย มีลักษณะเด่นอยู่ที่การใช้สมุนไพร เครื่องเทศ พริก มีรสเผ็ด และมักจะใช้ผงกะหรี่ คนในปีนังไม่ว่าจะเป็นคนอินเดีย คนจีนหรือคนมาเลเซียเองชอบทานอาหารที่มีผงกะหรี่และไม่มีใครปฏิเสธอาหารที่ มีผงกะหรี่ สมุนไพรที่นำมาประกอบอาหารนอกจากสมุนไพรท้องถิ่นซึ่งมีอยู่มากมาย บางครั้งยังมีการรวมสมุนไพรหลายชนิดเข้าด้วยกัน เพื่อให้มีกลิ่นหอม มักใช้ในการผัดข้าว อาหารมาเลเซียส่วนใหญ่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นอาหารมุสลิม เพราะไม่ใช้เนื้อหมู และไม่ใส่ไวน์ เนื้อสัตว์ที่นิยมรับประทานกันจึงเป็น เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อแพะ เนื้อแกะ และ อาหารทะเล และภูมิภาคขอมาเลเซีย
อาหารจะมีลักษณะเฉพาะต่างกัน ในปีนังจะใช้ผงกะหรี่ในการประกอบอาหารมาก เพราะคนส่วนใหญ่ชอบผงกะหรี่ ขณะที่ทางตอนใต้ของประเทศจะนิยมใช้กะทิ คล้ายกับอาหารไทย โดยจะใช้กะทิกับอาหารเกือบทุกอย่าง ข้าว เป็นอาหารจานหลักในทุกมื้อของอาหารมาเลเซียเหมือนอาหารไทย ต่างกับอาหารยุโรปที่บางมื้อเป็นขนมปัง บางมื้อเป็นเนื้อ หลายคนเห็นหน้าตาอาหารมาเลเซียคล้ายกับอาหารอินเดีย แต่ อาหารอินเดียจะใช้กะทิเป็นส่วนผสมน้อยมาก ในอาหารมาเลเซียยังมีเครื่องจิ้มคล้ายน้ำพริกกะปิ เรียกว่า ซัมบัล (Sambal) ทำจากพริกป่น หัวหอมและน้ำมะขาม เป็นส่วนหนึ่งของสำรับอาหารของชาวมาเลเซีย นอกจากนี้ยังนิยมใช้ กะปิ ในการปรุงอาหารแทบทุกชนิดไม่ว่าจะผัดหรือแกง ลองมาดูสูตรอาหารมาเลเซีย
อาหารมาเลเซีย เป็นอาหารประจำชาติของชาวมาเล ที่มีการสั่งสม และถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งอดีตจนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติอย่างหนึ่งที่

 
ดอกไม้ประจำชาติ

มีชื่อไทย ชบา เป็นดอกไม้ที่ไม่มีกลิ่น ชบา เป็นดอกไม้ประจำชาติของ ประเทศมาเลเซีย ครับ ชบา และ พู่ระหง เป็นไม้มงคลอีกชนิดที่เชื่อกันว่าจะช่วย ส่งเสริมให้สูงส่งและสง่างามดั่งพู่ระหงแก่ผู้อยู่อาศัย ทิศเหมาะสมคือตะวันตกเฉียงเหนือของตัวบ้าน ถ้าจะปลูกก็ควรปลูกวัน พุธ

ชุดประจำชาติ

ผ้าซิ่น หรือ ซิ่น เป็นผ้านุ่งของผู้หญิง มีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ทั้งขนาด การนุ่ง และลวดลายบนผืนผ้า
ผ้าซิ่นนับเป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่งของหญิงไทย ในสมัยโบราณ การทอผ้าเป็นงานในบ้าน ลูกผู้หญิงมีหน้าที่ทอผ้า แม่จะสั่งสอนให้ลูกสาวฝึกทอผ้าจนชำนาญ แล้วทอผ้าผืนงามสำหรับใช้ในโอกาสพิเศษ เช่น งานแต่งงาน งานบวช หรืองานบุญประเพณีต่างๆ การนุ่งผ้าซิ่นของผู้หญิงจึงเป็นเหมือนการแสดงฝีมือของตนให้ปรากฏ ผ้าซิ่นที่ทอได้สวยงาม มีฝีมือดี จะเป็นที่กล่าวขวัญและชื่นชมอย่างกว้างขวาง
ผ้าซิ่นของไทยมักจะแบ่งได้เป็นสองลักษณะ อย่างแรกคือ ผ้าซิ่นสำหรับใช้ทั่วไป มักจะไม่มีลวดลาย ทอด้วยผ้าฝ้าย หรือด้ายโรงงาน (ในสมัยหลัง) อาจใส่ลวดลายบ้างเล็กๆ น้อยๆ ในเนื้อผ้า อีกอย่างหนึ่ง คือผ้าซิ่นสำหรับใช้ในโอกาสพิเศษ มักจะทอด้วยความประณีตเป็นพิเศษ มีการใส่ลวดลาย สีสันงดงาม และใช้เวลาทอนานนับแรมเดือน
ขนาดและลักษณะของผ้าซิ่นนั้น ขึ้นกับฝีมือ รสนิยม ขนบการทอในแต่ละท้องถิ่น และยังขึ้นกับขนาดของกี่ทอด้วย การทอผ้าด้วยกี่หน้าแคบ จะได้ผ้าที่แคบ ผ้าซิ่นสำหรับใช้จริงจึงต้องนำมาต่อเป็นผืนให้กว้างขึ้น อย่างไรก็ตาม
ผ้าซิ่นในปัจจุบันจะทอด้วยกี่หน้ากว้าง ไม่ต้องต่อผืนอย่างในสมัยโบราณอีกต่อไป

เครื่องแต่งกายประจำชาติของสาวมาเลย์ (สาวมาเลย์หมายถึง หญิงมาเลเซียนที่เป็นมุสลิมค่ะ) ที่เป็นชุดยาว แขนยาว กระโปรงยาวกรอมเท้า (ถ้าเคร่งจัดต้องใส่ถุงเท้าด้วย) และต้องคลุมผมมิดชิด (คนใกล้ตัวบอกว่า เป็นความเชื่อทางศาสนาที่ว่า ห้ามผมของหญิงสาวต้องแสงแดด - แต่ไม่ยักกะบอกเหตุผลว่าทำไมต้องเป็นเช่นนั้น) ชุดประจำชาติแบบนี้ เรียกว่าชุด tudung
แหล่งที่มา




ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลดี ดี